แนวปฏิบัติในการสอบปากคำของพนักงานสอบสวน

O15-แนวทางการสอบปากคำของพนักงานสอบสวน

O15-มาตรการควบคุม-ตรวจสอบ-และเร่งรัดการสอบสวน

การรับแจ้งความและบริหารคดีทางเทคโนโลยี-2

คำสั่ง419-2556

ระเบียบ-ตร.ว่าด้วยการโอนคดีและการรวมคดี-2

ระเบียบ-ตร.ว่าด้วยการบันทึกแผนประทุษกรรม-ฯ

ระเบียบ-ตร.ว่าด้วยการรับเลขคำแจ้งความและเลขคดีอาญา

อำนาจการสอบสวนของหน่วยงานในสังกัด-ตร-3

แนวปฏิบัติในการสอบปากคำ ของพนักงานสอบสวน

การสอบสวนในคดีอาญาแยกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
การสอบสวนในคดีความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งเป็นความผิดที่กระทบต่อความสงบสุขของสังคมโดยรวม เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ หรือฉ้อโกงประชาชน พนักงานสอบสวนสามารถทำการสอบสวนได้ ตั้งแต่เมื่อทราบว่ามีการกระทำความผิดดังกล่าวเกิดขึ้น โดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ
การสอบสวนในคดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ เช่น ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หรือทำให้เสียทรัพย์ พนักงานสอบสวน จะทำการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหายตามกฎหมายเสียก่อน
—–โดยที่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยในปัจจุบันใช้ระบบกล่าวหา อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาไว้ โดยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นกระทำความผิด ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องทำการพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ปราศจากข้อสงสัยว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยกระทำความผิดอาญาจริงตามที่ถูกกล่าวหา ทั้งนี้ เนื่องจากผลของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอาจทำให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดนั้น ถูกลงโทษจำคุกหรือประหารชีวิต ซึ่งเป็นการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหาอย่างร้ายแรง การสอบสวนซึ่งกระทำโดยพนักงานสอบสวนในเบื้องต้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงและกลั่นกรองข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบ เพื่อพิจารณาว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลหรือไม่เพียงใด ก่อนเสนอพนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ถูกกล่าวหานั้นต่อศาลเพื่อพิจารณาคดีต่อไป
—–ในการสอบสวนพนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้น การสอบสวนจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้การฟ้องคดีและการพิจารณาคดีในชั้นศาลเสียไปได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดห้ามไม่ให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยไม่ได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีผลเท่ากับว่าไม่เคยมีการสอบสวน ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดี และหากคดีขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลแล้ว ศาลต้องมีคำพิพากษายกฟ้อง
——การสอบสวนในคดีอาญาจึงมีความสำคัญเนื่องจากเป็นต้นธารของกระบวนการยุติธรรม เป็นกลไกของรัฐที่ใช้ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม และเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา จำเลยและผู้เสียหาย ดังนั้น พนักงานสอบสวนจึงต้องทำการสอบสวนและรวมรวบพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีได้รับความยุติธรรมด้วยกันทุกฝ่าย และสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชน

ส่วนที่ 2 แนวทางการสอบสวน/สอบปากคำ
1.ผู้มีอำนาจสอบสวน
การสอบสวนต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 กำหนดพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง และมาตรา 131 ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา
คดีความผิดอันยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัวต้องมีการร้องทุกข์ตามระเบียบก่อน
การสอบสวนกับการตรวจค้นจับกุมเป็นคนละขั้นตอนกัน
ต้องแจ้งข้อเท็จจริงและข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบ
การสอบสวนมากน้อยเพียงใดหรือเสร็จสิ้นเมื่อใดเป็นดุลพินิจพนักงานสอบสวน ทั้งนี้พนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 โดยเคร่งครัด
2.การแจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ
คำร้องทุกข์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) หมายถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
คำกล่าวโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(8) หมายถึงการที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้นกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ คำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ ลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ความเสียหายที่ได้รับและชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้ คำร้องทุกข์นี้จะทำเป็นหนังสือหรือร้องด้วยปากก็ได้ ถ้าเป็นหนังสือต้องมีวันเดือนปีและลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ถ้าร้องด้วยปากให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปีและลงลายมือชื่อผู้บันทึกกับผู้ร้องทุกข์ในบันทึกนั้น

3.แนวทางการสอบปากคำผู้ต้องสงสัย/พยาน ของพนักงานสอบสวน
3.1 แจ้งสิทธิที่จะพึงมีตามกฎหมายให้ทราบ
3.2 ถ้าหากผู้ถูกสอบปากคำเป็นชาวต่างชาติ ไม่สามารถพูดและฟังภาษาไทยได้ ให้จัดหาล่ามให้
3.3 สอบถามชื่อ สกุล อายุ ที่อยู่ อาชีพ /เบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้  
3.4 สอบถามความสัมพันธ์/ความเกี่ยวข้องในคดี/เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
3.5 สอบถามรายละเอียด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
3.6 บันทึกรายละเอียดข้อเท็จจริงตามลำดับเหตุการณ์เรียงตามวันเวลา (ถ้ามี)
3.7 ให้ผู้ที่ถูกสอบปากคำอ่านคำให้การ/หรืออ่านให้ฟัง (แล้วแต่กรณี)
4.แนวทางการสอบปากคำผู้ต้องหา ของพนักงานสอบสวน
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงาน
สอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล
สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่า
ผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ
ซึ่งพนักงานสอบสวนมีแนวทางการปฏิบัติในการสอบปากคำ ดังนี้
1 แจ้งสิทธิตามกฎหมายให้ทราบ
2 ถ้าหากผู้ถูกสอบปากคำเป็นชาวต่างชาติ ไม่สามารถพูดและฟังภาษาไทยได้ ให้จัดหาล่ามให้
3 สอบถามชื่อ สกุล อายุ ที่อยู่ อาชีพ /เบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้  
4 แจ้งพฤติการณ์/เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีให้ทราบ
5 แจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบ (กรณีผู้ถูกสอบปากคำเป็นผู้ต้องหา)
6 สอบถามความสัมพันธ์/ความเกี่ยวข้องในคดี/เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
7 สอบถามรายละเอียด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
8 บันทึกรายละเอียดข้อเท็จจริงตามลำดับเหตุการณ์เรียงตามวันเวลา (ถ้ามี)
9 ให้ผู้ที่ถูกสอบปากคำอ่านคำให้การ/หรือพนักงานสอบสวนอ่านให้ฟัง (แล้วแต่กรณี)
เอกสารที่ต้องนำมาด้วย
๑.บัตรประจำตัวประชาชน ถ้าไม่มีให้นำเอกสารที่ทางราชการออกให้ เช่น หนังสือเดินทาง,ใบอนุญาตขับขี่ หรือตรวจสอบจากข้อมูลทะเบียนราษฎร์
๒.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวหา (ถ้ามี)
๓.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่กล่าวหาทั้งหมด เช่น หลักฐานการโอนเงิน หลักฐานการหลอกลวง ประกาศเชิญชวน ภาพแชททางออนไลน์ เป็นต้น
4.หนังสือมอบอำนาจ(ถ้ามี)






ส่วนที่ 3 พนักงานสอบสวนไม่ทำการสอบสวน
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 122 พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในกรณีต่อไปนี้
ก็ได้
(1) เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ
(2) เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเสียเองโดยมิได้ร้องทุกข์ก่อน
(3) เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์ หรือบุคคลที่กล่าวโทษด้วยปากไม่ยอมบอกว่าเขาคือใคร
หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อในคำกล่าวโทษหรือบันทึกคำกล่าวโทษ
1.การถอนคำร้องทุกข์
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 126 ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอนคำ
ร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ในคดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์เช่นนั้นย่อมไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน
แนวทางการสอบปากคำของพนักงานสอบสวน
สอบปากคำผู้ที่จะถอนคำร้องทุกข์เพิ่มเติมจากคำให้การเดิม
สอบถามความยืนยันคำให้การเดิมที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำไว้
สอบถามความประสงค์ที่มาพบพนักงานสอบสวน (กรณีมาถอนคำร้องทุกข์)
ให้ผู้ที่ถูกสอบปากคำอ่านคำให้การ/หรือพนักงานสอบสวนอ่านให้ฟัง (แล้วแต่กรณี)
O15 แนวปฏิบัติในการสอบปากคำ ของพนักงานสอบสวน(ตร.จัดทำ)